สำนักงานสหกรณ์จังหวัดบึงกาฬ มีอำนาจหน้าที่ (ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131 ตอนที่ 88 ก วันที่ 30 ธันวาคม 2557) ดังต่อไปนี้
1. ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ กฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
2. ส่งเสริมและพัฒนางานสหกรณ์ทุกประเภทและกลุ่มเกษตรกร
3. ส่งเสริม เผยแพร่ และให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ ให้แก่บุคลากรสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และประชาชนทั่วไป
4. ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
5. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ฝ่ายบริหารทั่วไป มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1) จัดทำและรวบรวมแผนงาน คำขอตั้งงบประมาณ
2) ติดตาม เร่งรัด และประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนงานและโครงการต่างๆ รวมทั้งรวบรวมสถิติข้อมูลด้านสหกรณ์
3) งานด้านการเงิน บัญชี วัสดุ ครุภัณฑ์ งานด้านการบริหารงานบุคคล งานติดต่อประสานงาน รวมทั้งงานสารบรรณและงานธุรการทั่วไป
4) ดำเนินงานด้านเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
5) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และตามที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1) ศึกษา วิเคราะห์ และดำเนินการจัดตั้งสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์และเยาวชนสหกรณ์
2) ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อการส่งเสริมพัฒนาสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์และเยาวชนสหกรณ์
3) ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร
4) ศึกษา วิเคราะห์ ประสาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการอื่นๆ
5) ให้คำปรึกษา แนะนำ ในการแก้ไขปัญหาด้านการจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ให้แก่หน่วยส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์
6) ติดตามการดำเนินการของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งติดตามและดำเนินการประเมินผล รายงานผลงาน และโครงการในหน้าที่ความรับผิดชอบของกลุ่มงาน
7) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และตามที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มส่งเสริมและพํฒนาธุรกิจสหกรณ์ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1) ศึกษา วิเคราะห์ ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจ และส่งเสริมการตลาดแก่สหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร
2) ศึกษา วิเคราะห์ ส่งเสริมและพัฒนาสินค้า การบรรจุภัณฑ์ และรูปแบบการบริการเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า
3) ศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูลด้านการตลาด และส่งเสริมการเชื่อมโยงธุรกิจการตลาดสหกรณ์ สู่ทางการตลาดทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
4) ให้คำปรึกษา แนะนำในการแก้ไขปัญหาด้านพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ให้แก่หน่วยส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์
5) ประสานงานให้ความช่วยเหลือในการดูแล รักษา และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต
6) ติดตาม และดำเนินการประเมินผล รายงานผลงาน และโครงการในหน้าที่ความรับผิดชอบของกลุ่มงาน
7) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และตามที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1) ศึกษา วิเคราะห์ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโครงสร้างการจัดระบบงานการบริการงานบุคคล และการควบคุมภายใน เพื่อพัฒนาให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเข้มแข็ง
2) ศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนะเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของโครงการ การจัดหา การลงทุน และการบริหารเงินทุนของสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร
3) ศึกษา วิเคราะห์ความต้องการ สนับสนุนเงินทุนและสินเชื่อแก่สหกรณ์รวมทั้งการติดตามและประเมินผล
4) ให้คำปรึกษา แนะนำ ในการแก้ไขปัญหาด้านการบริหารการจัดการสหกรณ์ให้แก่หน่วยส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์
5) ติดตามและดำเนินการประเมินผล รายงานผลงานและโครงการในหน้าที่ความรับผิดชอบของกลุ่มงาน
6) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และตามที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มตรวจการสหกรณ์ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อพัฒนาระบบการตรวจการสหกรณ์ให้สอดคล้องกับกฎหมาย
2) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อจัดทำและปรับปรุง ระเบียบ คำสั่ง คำแนะนำนายทะเบียนสหกรณ์ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตรวจการสหกรณ์ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของนายทะเบียนสหกรณ์
3) ส่งเสริม กำกับดูแล การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งอนู่ในระบบตรวจการสหกรณ์ให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน
4) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อวางแนวทางการแก้ไขข้บกพร่องของสหกรณ์
5) พัฒนาและปรับปรุงระบบรายงานการแก้ไขข้อบกพร่อง เพื่อนำเสนอนายทะเบียนสหกรณ์วินิจฉัยสั่งการแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6) ส่งเสริมสนับสนุนการเข้าช่วยเหลือดำเนินกิจการของสหกรณ์ของผู้ตรวจการสหกรณ์ให้ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์
7) ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนนายทะเบียนสหกรณ์
8) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ประเด็นปัญหาข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานของสหกรณ์ต่อนายทะเบียนสหกรณ์ เพื่อวางแนวทางในการป้องกันและแก้ไข
9) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และตามที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1) เผยแพร่และให้ความรู้ความเข้าใจในระบบสหกรณ์ว่าด้วยเรื่องอุดมการณ์ หลักการและวิธีการสหกรณ์ให้แก่สหกรณ์ให้แก่บุคลากรสหกรณ์
2) ให้คำปรึกษา แนะนำ ให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
3) ให้การส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือ ให้ความรู้แก่บุคลากรสหกรณ์ และบุคลากรกลุ่มเกษตรกร ในเรื่องการดำเนินงานสหกรณ์ การบริหารจัดการองค์กรธุรกิจ และเรื่องอื่นๆ ตามที่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรต้องการ
4) ให้การส่งเสริม สนับสนุน แนะนำ ให้แก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร มีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาวางแผนงานโครงการ สามารถดำเนินการและแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง
5) ให้การส่งเสริม ช่วยเหลือ สนับสนุน แนะนำ การขอจัดตั้งสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร แก่บุคคลผู้สนใจ รวมถึงการควบสหกรณ์ การแยกสหกรณ์
6) ให้การส่งเสริมและพัฒนากลุ่มเกษตรกรให้เข้มแข็ง ให้การแนะนำ ส่งเสริม เผยแพร่ และให้ความรู้แก่สมาชิกกลุ่มเกษตรกร เพื่อการพัฒนา เปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานตามระบบสหกรณ์
7) ให้การส่งเสริม ช่วยเหลือ สนับสนุน แนะนำ การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดตั้งสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร แก่คณะบุคคลผู้ขอจัดตั้ง รวมถึงการควบสหกรณ์ การแยกสหกรณ์ และการจัดตั้งชุมนุมสหกรณ์ และให้การส่งเสริม สนับสนุน แนะนำสหกรณ์ในการดำเนินงานภายหลังการจัดตั้ง เพื่อความเข้มแข็งและความยั่งยืนของสหกรณ์ รวมทั้งการติดตามประเมินผลการจัดตั้ง
8) ตรวจ ติดตาม เร่งรัด การดำเนินงานของสหกรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ ข้อกำหนดต่างๆ นโยบาย และมติที่ประชุมของสหกรณ์
9) ตรวจสอบวิธีการปฏิบัติงาน และฐานะการเงินของสหกรณ์ให้เป็นไปตามหลักวิชาการและมาตรฐานทางการเงินและบัญชี
10) ประสานงานกับกลุ่มงานทุกกลุ่ม เพื่อรับมอบงาน ข้อมูล ข่าวสาร และองค์ความรู้ด้านวิชาการต่างๆ เพื่อแนะนำข้อมูลและความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอด ให้การส่งเสริม แนะนำสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร และเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการทำงาน โดยมีภารกิจงานหลักๆ ที่ต้องประสานกับแต่ละกลุ่มงานดังนี้
(ก) ประสานกับกลุ่มงานจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ ในภารกิจงานเกี่ยวกับการดำเนินการจัดตั้งสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ให้กับกลุ่มบุคคลผู้ขอจัดตั้ง รวมถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลการตรวจสอบเอกสารประกอบการขอจัดตั้งสหกรณ์ การดำเนินการในทุกๆ เรื่องที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้กลุ่มจัดตั้งฯ นำเสนอขอจดทะเบียนสหกรณ์ต่อนายทะเบียนสหกรณ์ ภายหลังนายทะเบียนรับจดทะเบียนแล้ว จะต้องให้การส่งเสริมแนะนำ เป็นที่ปรึกษาและประสานงานเพื่อการจัดองค์กร การจัดกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสหกรณ์ภายใต้กรอบของกฎหมายและข้อบังคับของสหกรณ์ การดำเนินการดังกล่าวนี้ ให้รวมถึงการควบสหกรณ์ การแยกสหกรณ์ การจัดตั้งชุมนุมสหกรณ์ และการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรด้วย
(ข) ประสานกับกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ เพื่อรับและส่งมอบงานและข้อมูลหรือองค์ความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาธุรกิจ การส่งเสริมการตลาด การส่งเสริมและพัฒนาสินค้าการบรรจุภัณฑ์ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร รวมถึงการเชื่อมโยงธุรกิจการตลาดของสหกรณ์กับสหกรณ์ สหกรณ์กับภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำไปปฏิบัติหรือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ให้การส่งเสริม สนับสนุนช่วยเหลือการดำเนินธุรกิจให้กับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร โดยกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์จะทำหน้าที่คอยสนับสนุน ช่วยเหลือแนะนำ และแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับการปฏิบัติงานของหน่วยส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ โดยตลอด
(ค) ประสานกับกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารจัดการสหกรณ์ เพื่อรับและส่งมอบงานและข้อมูล หรือองค์ความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารบุคคล การควบคุมภายใน โครงสร้างและการจัดระบบงาน การจัดหา การลงทุน และการบริหารเงินทุนของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเพื่อนำไปปฏิบัติหรือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้การส่งเสริมสนับสนุนช่วยเหลือการบริหารจัดการองค์กรและการเงินของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร บริหารจัดการองค์กร และการเงินของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร โดยกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์จะคอยสนับสนุน ช่วยเหลือ แนะนำ และแก้ไขปัญหาอันอาจเกิดขึ้นกับการปฏิบัติงานของกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์